ปวดคอมาเกือบ 10 ปี… เคยคิดว่าคงต้องอยู่กับมันไปตลอด
นี่คือเรื่องราวของคนไข้ ที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย แต่ต้องอยู่กับความปวดตลอด
จนกระทั่งวันนี้ เธอสามารถหันคอ ขยับได้อย่างไร้ความปวด
เคสผู้เข้าการรักษา : คุณพรพรรณ | อายุ 57 ปี | อาชีพ : เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
ลักษณะอาการก่อนเข้ารับการรักษา
คุณพรพรรณมีอาการปวดคอเรื้อรังมานานหลายปี โดยอาการไม่เคยดีขึ้นเลยแม้จะลองวิธีรักษา ทั้งการยาแก้ปวด กากายภาพบำบัด อาการกลับมาเป็นซ้ำอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดอาการ
1.ปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ
ทุกครั้งที่เงย หรือคอจะรู้สึกปวและตึงจนขยับได้ลำบาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน
2.รบกวนการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง
อาการปวดคอทำให้คุณพรพรรณต้องเปลี่ยนหมอนอยู่บ่อยครั้ง หาหมอนรองคอแบบพิเศษมาใช้ แต่ก็ยังหลับไม่สนิท และตื่นบ่อยจากอาการปวด
3.มีอาการปวดร้าว
อาการปวดลามจากต้นคอลงไปถึง
4. คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากอาการปวดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถทำงานบ้านได้ตามปกติเดินทางไกลหรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ และเริ่มหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายจากความกลัวว่าอาการจะกำเริบ
การตรวจวินิจฉัยจากแพทย์
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเข้าใจสาเหตุของอาการอย่างแท้จริง ทีมแพทย์จึงดำเนินการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
1.ซักประวัติอาการโดยละเอียด
ตรวจสอบความถี่ของอาการ ระยะเวลาที่เป็น อาการร่วม และปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น
2. ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง
–ประเมินการเคลื่อนไหวของคอในทุกทิศทาง
-ตรวจหาจุดกดเจ็บ
-ทดสอบการรับความรู้สึกและกำลังกล้ามเนื้อเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาท
3.ส่งตรวจ Xray บริเวณคอ
–จากภาพ Xray แสดงให้เห็นถึงภาวะเสื่อมของข้อต่อกระดูกคอ ระดับ C5-7 (Facet Joint Arthropathy)
*ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ MRI เนื่องจากไม่มีอาการของการกดทับเส้นประสาทแขน เช่นปวดแขน แขนชาหรืออ่อนแรง
4..ฉีดยาชาเพื่อวินิจฉัย
เช็คจุดอาการปวดมาเป็นบริเวณไหน จะได้รักษาได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ
การวางแผนรักษา
หลังจากรวบรวมผลการตรวจทั้งหมด แพทย์ได้เลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดคือการจี้ไฟฟ้า หรือ RFA
ทำไมจึงเลือก RFA?
อาการของคุณพรพรรณมีต้นเหตุมาจากการเสื่อมของข้อต่อกระดูกคอการจี้ไฟฟ้า RFA จึงเป็นทางเลือกที่ ตรงจุด และมีงานวิจัยสนับสนุนว่าสามารถลดอาการปวดได้ชัดเจนในผู้ป่วยข้อต่อกระดูกคอเสื่อม
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำ
- แจ้งประวัติแพทย์ทั้งหมด
รวมถึงโรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ และประวัติการแพ้ยา เพื่อพิจารณาความปลอดภัย - หยุดยาบางชนิด (หากจำเป็น)
เช่น ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาที่รบกวนการแข็งตัวของเลือด อย่างน้อย 5–7 วัน - งดน้ำ งดอาหารก่อนทำ ชั่วโมง
เฉพาะในกรณีที่เลือกใช้ยาสลบระหว่างทำหัตถการ
ขั้นตอนการทำ RFA
- ผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดบริเวณต้นคอ และฉีดยาชาเฉพาะที่
- แพทย์จะสอดเข็ม RFA เข้าไปยังจุดที่มีเส้นประสาทรับความรู้สึก โดยใช้เครื่อง X-ray Fluoroscopy ควบคุมทิศทางแบบเรียลไทม์ เพื่อยืนยันตำแหน่องได้อย่างแม่นยำ
- เมื่อเข็ม RFA อยู่ในตำแหน่งแพทย์จะปล่อย คลื่นวิทยุ ไปยังผ่านปลายเข็ม
– คลื่นนี้จะไป เส้นประสาท ที่ส่งสัญญาณปวด ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาปวดไปยังสมองได้
โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักอื่นๆ - ใช้เวลาในการทำหัตถการ 30-45 นาที ขึ้นกับจำนวนข้างและตำแหน่งของกระดูกคอที่มีปัญหา
หลังทำทันที
- ผู้ป่วยนอนพักฟื้นในห้องสังเกตอาการประมาณ 1 ชั่วโมง
- สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน
- อาจมีอาการตึงหรือระบมบริเวณที่ทำใน 1-2 วันแรก ซึ่งสามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทา
- ไม่ต้องพักฟื้น หลังทำ ชั่วโมงสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ผลลัพธ์การรักษา
ภายใน สัปดาห์แรก:
- อาการปวดคอลดลงชัดเจน
- ไม่ต้องพึ่งหมอนรองคออีกต่อไป
- คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
- กลับไปทำงานบ้าน ขับรถ และออกกำลังกายเบา ๆ ได้
- ไม่มีอาการปวดร้าวลงแขนหรือสะบักอีก
- ความรู้สึก “ตื้อ ๆ หนัก ๆ” ที่เคยมีทุกวันหายไป
ติดตามอาการโดยทีมแพทย์
- มีการนัดติดตามผลอย่างใกล้ชิดหลังทำหัตถการ
- ทีมพยาบาลติดต่อสอบถามอาการทางโทรศัพท์และไลน์
- หากมีอาการผิดปกติหรือข้อสงสัย สามารถติดต่อกลับได้ทันที พร้อมคำแนะนำเรื่องการดูแลตัวเอง
สรุปเคส
เคสของคุณพรพรรณสะท้อนให้เห็นว่า
อาการปวดคอเรื้อรังที่เป็นมานานหลายปี สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน หากตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และเลือกแนวทางที่ตรงจุด
การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า RFA ทำให้คุณพรพรรณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง โดยไม่อาการปวดมารบกวนชีวิตอย่างที่เคยเป็น และไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด
หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับอาการ “ปวดคอเรื้อรัง” ที่ไม่หายเสียที
การจี้ไฟฟ้า RFA อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณบรรเทาอาการปวดได้อย่างเห็นผลจริง
และไม่ต้องทนปวดอีกต่อไป