19 พ.ค. 2025

บทความทางการแพทย์

PLDD การใช้เลเซอร์รักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ไม่อยากผ่าตัด?
ผ่าตัดก็อาจจะไม่หายปวด ต้องพักฟื้นนาน แถมยังเกิดพังพืด
ตอนนี้มีทางเลือกที่ปลอดภัย เจ็บน้อยกว่า และไม่ต้องนอนโรงพยาบาลแล้ว

Screenshot 2025 05 19 101733

PLDD คืออะไร?
PLDD หรือ Percutaneous Laser Disc Decompression เป็นการลดปวดโดยการใช้พลังงานเลเซอร์ผ่านเข็มขนาดเล็ก ซึ่งเลเซอร์จะลดแรงดันในหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกหดตัว และลดการกดทับเส้นประสาท

Screenshot 2025 05 19 101751
Screenshot 2025 05 19 101751

PLDD ทำงานอย่างไร?
– ช่วยให้หมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหดตัว
– ลดการกดทับเส้นประสาท
– ลดการอักเสบ
– ทำลายเส้นประสาทรับความเจ็บปวดภายในหมอนรองกระดูก

Screenshot 2025 05 19 101700

ทำไมควรเลือกรักษาด้วย PLDD?
– ฟื้นตัวไว ไม่มีแผลผ่าตัด
– ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
– เสี่ยงเกิดพังผืดน้อย
– ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการผ่าตัด


ความปลอดภัยและการรับรอง
เครื่องเลเซอร์ของเราได้รับการรับรองจาก :
✔ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA)
✔ มาตรฐานยุโรป (CE)
✔ อย. ประเทศไทย


ใครเหมาะกับการทำ PLDD?
– ผู้ที่มีหมอนรองกระดูกปลิ้นชนิดไม่รุนแรง (contained herniation)
– มีอาการปวดร้าวลงขา 
– อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังการรักษาเบื้องต้น
** ต้องมีผล MRI เพื่อวางแผนก่อนเข้ารับการรักษา


ใครไม่เหมาะกับการทำ PLDD?
– หมอนรองกระดูกที่ฉีกขาดหรือแตก (ruptured disc)
– มีอาการขาอ่อนแรง หรือการกดทับไขสันรุนแรงที่จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน


การทำ PLDD มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
– เป็นการทำหัตถการเล็ก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ใช้เวลาประมาณ 30–40 นาที
– ผู้ป่วยนอนคว่ำขณะทำหัตถการ แพทย์ฉีดยาชาและให้ยาเพื่อคลายกังวล 
– ให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
– แพทย์ใช้เข็มขนาดเล็กใส่ไปยังบริเวณหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ช่วยนำทาง 
– ใส่เส้นใยเลเซอร์ผ่านเข็มและให้พลังงาน
– การรักษาช่วยลดแรงดันภายในหมอนรองกระดูก และลดการกดทับเส้นประสาท


หลังทำ PLDD ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
– ใส่ผ้าพยุงหลังแบบอ่อน 4 สัปดาห์
– หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ก้มตัว หรือออกแรงมากในช่วงพักฟื้น
– อาจมีระบมเล็กน้อยบริเวณที่สอดเข็ม ซึ่งสามารถบรรเทาได้โดยการทานยาแก้ปวด
– เริ่มมีกิจกรรมเคลื่อนไหวเบาๆ ได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์


PLDD มีความเสี่ยงไหม?
PLDD อาจมีความเสี่ยงบ้างเช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่นๆค่ะ ความเสี่ยงที่พบได้ เช่น ระบมบริเวณที่ทำ 1-2 วัน เลือดออก ติดเชื้อ หรือการระคายเคืองของเส้นประสาท แต่ทั้งหมดนี้พบได้น้อยมากค่ะ เพราะเราทำหัตถการภายใต้เครื่องมือช่วยนำทาง ใช้เทคนิคปลอดเชื้อ และอยู่ภายใต้การดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


ที่ P.S. Center เรามีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาหมอนรองกระดูกโดยไม่ต้องผ่าตัด
รวมถึงการรักษาด้วยเลเซอร์ PLDD
เราเน้นการรักษาอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิคแม่นยำที่เหมาะสมกับรอยโรคของผู้ป่วยแต่ละคนค่ะ

หากคุณกำลังปวดร้าวลงขาจากหมอนรองกระดูกปลิ้น PLDD อาจเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระอีกครั้ง

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิง รรินทร ชุมสาย ณ อยุธยา แพทย์เฉพาะทาการระงับปวด

SHARE

 
467738808 17869485504247234 3693171713260642051 n

บรรยากาศงาน Toyota Alive 

 
MEITU 20250515 135019830

บรรยากาศงาน ASEAPS 2025 ณ Singapore Expo

 

PM 2.5 กับอาการปวดเรื้อรัง สูดฝุ่นทุกวันปวดหลังไม่รู้ตัว

 
Back,View,Of,A,Man,Tourist,Walking,In,The,Middle

ทริคดูแลร่างกายให้ห่างไกลความเจ็บปวดฉบับคนพร้อมเที่ยวปี 2025

 
Back,View,Of,Female,Athlete,Participating,At,Marathon,Competition

เตรียมตัวก่อนวิ่งมาราธอนอย่างไร ให้บาดเจ็บน้อยที่สุด?

 
Ultrasound guided,Platelet rich,Plasma,Injection,Of,The,Knee

ทำความรู้จักกับ PRP Tendon การรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น ช่วยฟื้นฟูเส้นเอ็น